มาตรฐานหลักสูตร การดูแลผู้สูงอายุขั้นเบื้องต้น จำนวน 420 ชั่วโมง
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ส่งผลให้หลายประเทศเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) รวมถึงประเทศไทยที่มีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ ๑๖ นับเป็นอันดับสองของอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ที่มีประชากรสูงอายุถึงร้อยละ ๑๘ โดยในปีพ.ศ.๒๕๕๘ ประเทศไทยมีจ านวนประชากร รวม ๖๕.๑ ล้านคน แบ่งเป็นประชากรที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มีจ านวนถึง ๑๐.๓ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ของ ประชากรไทยทั้งหมด เป็นเพศชายจ านวน ๔.๖ ล้านคน และเพศหญิงจ านวน ๕.๗ ล้านคน และในปีพ.ศ. ๒๕๖๔ ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ประชากรเกือบ ๑ ใน ๔ ของประเทศจะเป็นประชากรสูงอายุ และ ปี พ.ศ.๒๕๗๔ จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด โดยจะมีประชากรสูงอายุมากถึงร้อยละ ๒๘ (มูลนิธิสถาบันวิจัย และพัฒนาผู้สูงอายุไทย, ๒๕๕๘) รวมถึงการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๘๓ คาดการณ์ไว้ว่าสัดส่วนของประชากรวัยเด็ก (อายุน้อยกว่า ๑๕ ปี) และวัยแรงงาน (อายุ ๑๕-๕๙ ปี) มีแนวโน้มลดลง สวนทางกับสัดส่วนประชากรสูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๐ สัดส่วนประชากรวัย เด็กจะเท่ากันกับสัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุ และหากเปรียบเทียบสัดส่วนของประชากรวัยท างานต่อประชากร วัยสูงอายุ จ านวน ๑ คน ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะการพึ่งพิง จากเดิมที่มีประชากรวัยท างานจ านวน ๔.๕ คน คอย ดูแลประชากรวัยสูงอายุ ๑ คน อีกไม่เกิน ๑๔ ปีข้างหน้า สัดส่วนดังกล่าวจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยจะมี ประชากรวัยท างานเพียง ๒.๕ คน ที่ดูแลประชากรวัยสูงอายุ ๑ คน (คณะท างานคาดประมาณประชากรของ ประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๘๓, ๒๕๕๕)